ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ
น.ส.ศุฑารัตน์ สีดา

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา






ตาม UN ไปดูโรงเรียนบ้านหนองบัวแดง : แบบอย่างสถานศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของเชีย

การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นรูปธรรมและบังเกิดสัมฤทธิผลอย่างยั่งยืนนั้น หากสถานศึกษาซึ่งเป็นสังคมของเด็กๆยุวชนวัยเรียนรู้ วัยจดจำ วัยที่รองรับการบ่มเพาะและสามารถแตกดอกออกผลองค์ความรู้ได้มากที่สุด โดยเด็กๆจะได้สัมผัส ทั้งการสังเกต การลงมือปฏิบัติจริง การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาตนตามบริบทและศักยภาพของความเป็นเด็กที่มีผู้ใหญ่คอยเป็นพี่เลี้ยงอยู่ห่างๆ วิถีชีวิตประจำวันหรือลมหายใจของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็ย่อมจะแฝงฝัง แทรกซึมความคิด จิตสัมผัสและระดับพัฒนาการจากโรงเรียนสู่บ้านและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพครบถ้วน

ในการบริหารจัดการและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันอย่างยั่งยืนได้อย่างสัมฤทธิผล

สังคมโรงเรียนบ้านหนองบัวแดง ต.แม่ข้าวต้ม อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในบรยากาศการจัดการเรียนการสอนระหว่างนักเรียนตัวเล็กๆชาย-หญิงตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงป.6 โดยมีคณะครู จำนวน 10 คน คอยทำหน้าที่อบรมสั่งสอน ท่ามกลางธรรมชาติสภาพสิ่งแวดล้อมทุ่งนาข้าวเขียวขจี ตันไม้ สระน้ำ สัตว์เลี้ยงประเภทหมู วัว ควาย เป็ด ไก่ ฯลฯ ห้องเรียนธรรมชาติ ที่มีเด็กๆส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวหยิบยื่นอาหารให้หมู ยื่นกล้วยให้วัวกิน สองมือน้อยๆบรรจงปลูกฝังพืชผักสวนครัวลงในดินแล้วคอยรดน้ำพรวนดินใส่ ขี้ไก่ ขี้หมูคอยดูความโตตนของต้นไม้และพืชผักสวนครัวที่ตนเองงบรรจงปลูกและประคบประหงมดูแลอย่างภาคภูมิใจ.....

วิถีชีวิตและลมหายใจเล็กๆโดยเด็กๆที่คลุกคลีอยู่กับธรรมชาติ เอิบอิ่มใกล้ชิดกับบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียนเคียงคู่ไปกับการสร้างแหล่งอาหาร การกิน การอยู่ร่วมกัน การรู้ออมรู้ประหยัด อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เช้าจรดเย็น...จึงทำให้คุณภาพพื้นฐานของ เด็กบ้านหนองบัวแดงใกล้ชิดกับคุณธรรมความพอเพียงเพื่อนำไปเป็นต้นทุนชีวิตในช่วงกลับบ้านไปอยู่กับครอบครัวหรือในห้วงระยะเวลาที่จบการศึกษาออกไปเป็นผู้ใหญ่ ผู้ปกครองหรือผู้นำระดับต่างๆในอนาคต

นายสมนึก จันทร์แดง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบัวแดงกล่าวถึงความสำเร็จของการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้บริหารจัดการในโรงเรียนจนกระทั่งบังเกิดเป็นมรรคผลในปัจจุบันและปรากฎชื่อเสียงขจรไกลมีคณะผู้แทนจาก 6 องค์กรหลักขององค์การสหประชาติ (UN) มาเยี่ยมชมโรงเรียนว่านอกเหนือจากการร่วมมือกันของคณะครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างเหนียวแน่นแล้ว การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างอบต.แม่ข้าวต้ม ผู้นำตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้านนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญทางด้านการสนับสนุนและการดูแลอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงของตำบลแม่ข้าวต้มโดยการนำและการสนับสนุนของนายอินหวัน บั้งเงิน กำนันตำบลแม่ข้าวต้มและนายสันติ เถรนิยม นายกอบต.แม่ข้าวต้ม จนทำให้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนขยายผลจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ จากโรงเรียนสู่บ้านและชุมชน บังเกิดเครือข่ายชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บาน ชาวบ้านมีการปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ การใช้ปุ๋ยธรรมชาติปลอดสารเคมี การแบ่งสันปันส่วนผลผลิตไว้บริโภค จำหน่าย แบ่งปันอย่างลงตัว



วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การสร้างเว็บเพจเบื้องต้น




การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML
โดย Sorasak Sattayanuwat
ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

HTML ย่อมาจากคำว่า "HyperText Markup Language" เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ที่แสดงผลในลักษณะของเว็บเพจ ซึ่งสามารถแสดงผลได้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าเป็นภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ

ภาษา HTML เป็นภาษาที่มีลักษณะของโค้ด กล่าวคือ จะเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษรในมาตรฐานของรหัสแอสกี (ASCII Code) โดยเขียนอยู่ในรูปแบบของเอกสารข้อความ จึงสามารถกำหนดรูปแบบและโครงสร้างได้ง่าย